Skip to main content

Campaigns

โครงการซื้อที่ดินวัดคาทอลิกอุ้มผาง

พวกเราจำเป็นต้องแจ้งให้เพื่อนพี่น้องผู้บริจาคที่เคารพทุกท่านทราบว่า เงินบริจาคของท่านเพื่อซื้อที่ดินวัดคาทอลิกอุ้มผางสังฆมณฑลนคนสวรรค์ ตามจดหมายบริจากเมื่อวันที18 ธันวาคม 2564 ได้ถึงจำนวนที่ต้องการเพื่อจัดซื้อที่ดิน จำนวน 3 ไร่ 2 งาน แล้วตามคำแนะนำของมิสซังนครสวรรค์พวกเราได้โอนที่ดินโดยใช้ชื่อโรงเรียนคาทอลิกภัทรวิทยา การโอนที่ดินได้เกิดขึ้นเมื้อวันที่ 16 มีถุนายน 2565 ต่อจากนั้น เนื่องจากว่ามีจำนวนเงินที่เหลือและพอจะใช้เพื่อเริ่มก่อสร้างวัด เราจึงเริ่มสร้างเมื่อสิ้นเดือนมีถุนายน 2565 จนถึง ณ วันนี้  คาดว่างานจะเสร้จภายในเดือนธันวาคม 

ครงการสร้างวัดแรกในเขตอุ้มผางเป็นโครงการสังฆมณฑลนครสวรรค์เพื่อคริสตชนชาวอุ้มผางจำนวน 20 ครอบครัว วัดนักบุญฟรังซิส แซเวียร์จะอยู่ในตัวเมืองอำเภออุ้มผางจังหวัดตาก อำเภอนี้มีขนาดพื้นที่มากที่สุดและเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอเมืองมากที่สุดในประเทศไทย อุ้มผางได้มีชื่อเสียงเป็นสถานที่ทองเที่ยงด้วยน้ำตกทีลอซุเป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยที่สุดในประเทศไทย วัดแห่งนี้จะเป็นที่อธิษฐานสำหรับนักทองเที่ยวชาวคาทอลิกที่มาเที่ยวอุ้มผาง

แบบวัดแห่งนี้ออกโดยสถาปนิกชาวสเปน วัดคาทอลิกแห่งแรกในอุ้มผางนี้ดูเหมือนเรียบง่ายแปลกประหลาดเนื่องจากว่ามันต้องการตอบสนองและรองรับสองประเด็นหลัก ประเด็นแรก แบบสถาปัตยกรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งในอำเภออุ้มผางส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ตีนผีที่ ประการที่สอง นิทานถึงปูตัวหนึ่งที่คลานขึ้นไปหานักบุญฟรานซิส เซเวียร์ โดยถือไม้กางเขนที่หายไประหว่างก้ามของมัน หลังคาวัดสองหลังดูสะเหมือนก้ามปูที่ถือไม้กางเขน เนื่องจากว่าโครงสร้างหลักของวัดเป็นไม้ ค่าใช้จ่ายจะสูงนิดหนึ่ง งานไม้เป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะเราจำเป็นต้องซื้อไม้ที่ถูกตามกฤหมาย ค่าแรงช่างไม้แพงเช่นเดียวกัน เพราะความยากของแบบและความละเอียดของงานไม้ เราจึงขอท่านทั้งหลาย หากว่ายังปรารถนาบริจาคเพื่องานก่อสร้างวัดแห่งนี้ได้สำเร็จและทันเวลา ก็เชิญมาร่วมทำบุญอีกรอบครับ

 

ด้วยความเคารพนับถือ

คุณพ่อเรย์ (  Reynaldo Fulgentio Tardelly)       

 

โครงการเกษตร

โครงการการเกษตรของเราประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรในท้องถิ่นพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นผ่านการเกษตรแบบไบโอไดนามิกและวนเกษตร การเกษตรแบบไบโอไดนามิกคือ การเกษตรที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก และไม่พยายามแทรกแซงธรรมชาติ อาทิ การให้ความสำคัญต่อดิน โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนในช่วงจังหวะเวลาที่ถูกต้อง ส่วน วนเกษตร ก็คือ การผสมผสานความกลมกลืนให้เกิดขึ้นระหว่างไม้ยืนต้นกับกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของที่ดิน

ประมาณ 30 ครอบครัวได้รับเลือกให้เลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่ว่าสัตช่วยเติมเต็มความอุดมสมบูรณ์ของดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช กลุ่มเป้าหมายนี้จะปลูกต้นไม้ 30,000 ต้น โดยคาดว่าครอบครัวหนึ่งจะปลูกสัก 1,000 ต้นในที่ดินของตนเอง

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักก็คือเพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มสตรี 7 กลุ่ม ใน 7 หมู่บ้านในอำเภออุ้มผาง หวังว่าในอนาคตอันใกล้จะสามารถขยายงานไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ ได้มากขึ้น วัตถุประสงค์สุดท้ายคือการจัดตั้งความร่วมมือที่เข้มให้กับกลุ่มสตรีในพื้นที่แห่งนี้และสภาพแวดล้อมในเขตอำเภออุ้มผาง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมการทอผ้า:

  1. สร้างงานหรืออาชีพใหม่เช่น ช่างทอผ้า นักออกแบบ และผู้ขาย
  2. ช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มสตรีในด้านบริหารอาชีพ ซึ่งจะชวยเขาสามารถต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองในสังคม
  3. จัดตั้งสหกรณ์สตรีเพื่อไม่ให้พึ่งพากับฉลามเงินกู้ แล้วพวกเขาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ๆ
  4. อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกะเหรี่ยง
  5. ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในท้องถิ่นซึ่งเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่ดำเนินการโดยและเพื่อประโยชน์ของคนในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ประเพณีและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน
  6. ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในอนาคตเนื่องจากกิจกรรมการทอผ้าสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยวิธีการใหม่ ๆ นอกเหนือจากการตัดต้นไม้

โครงการเลี้ยงแพะ

เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเมียนมาร์และกลุ่มชาติพันธุ์เกิดมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 ผู้พลัดถิ่นจำนวนมากได้ข้ามพรมแดนกับประเทศไทยและพำนักอยู่ชั่วคราวจนสองสามเดือนที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พวกเขายังคงอยู่ตลอดแนวชายแดนในฝั่งเมียนมาร์ เนื่องจากรัฐบัลไทยได้ผลักดันพวกเขากลับออกไป เพื่อป้องกันคลื่นการลักลอบเข้าเมืองที่ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ชุมชนของเรายังคงให้การสนับสนุนและช่วยเหลือครอบครัวที่เปราะบางที่สุด เราจึงนำแสนเอและจัดตั้งฟาร์มแพะให้ประมาณ 10 ครอบครัวในฝั่งเมียนมาร์เพื่อให้พวกเขาอยู่รอดได้โดยการขายเนื้อแพะในบริเวณใกล้เคียงตามแนวชายแดน แต่ละครอบครัวจะได้รับแพะ 3 ตัวเพื่อเลี้ยงดู เรายินดีทุกฯท่านที่ปรารถนาหรือสนใจมาสนับสนุนโครงการริเริ่มนี้เพื่อให้สามารถเข้าถึงครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือได้มากขึ้น

นวัตกรรมใหม่จากไม้ไผ่

ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบที่ประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้มากที่สุด รวมทั้งประเทศไทย ชาวบ้านกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่สำหรับงานบ้าน เช่น การก่อสร้างอาคารและบ้านเรือน ห้าหมู่บ้านในอำเภออุ้มผางได้รับความช่วยเหลือจากเราตั้งแต่ 5 ปี ที่ผ่านมาพวกเขาโดยส่วนใหญ่ปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองโดยสร้างรายได้ที่มั่นคง จากนั้นเราจึงตั้งโครงการนี้ขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาสร้างรายได้และรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา การมีอายุมากขึ้นไม่ได้กีดกันใครจากการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สูงอายุชายห้าคนของแต่ละหมู่บ้านได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรม เนื่องจากโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนนวัตกรรมใหม่และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมใหม่จากไม้ไผ่ การสนับสนุนของคุณในโครงการนี้จะมีความหมายต่อพวกเขาจริงๆ การซื้อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเท่ากับว่าคุณมีส่วนในการสร้างงานและตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ของพวกเขา